พนักงานขององค์การ กระทำผิดศิลธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ มีความผิดหรือเปล่า

ประเภท: 
ข้อคิดเห็นและชมเชยบริการ
http://www.bmta.co.th/sites/default/files/files/rules/morality.pdf http://www.bmta.co.th/sites/default/files/files/basic-page/cg-2559.pdf ประกาศองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เรื่อง ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 279 กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภท ให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่กำหนดขึ้น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ มีสถานะเป็น องค์กรของรัฐ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในองค์การมีหน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้ภารกิจในส่วนที่ตนรับผิดชอบเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ สังคม และ ประเทศชาติ ดังนั้น การปฏิบัติงานในส่วนที่รับผิดชอบให้ลุล่วงไป ผู้ปฏิบัติงานจึงต้องมีคุณธรรม และ ศิลธรรม ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นจริยธรรมและจรรยาบรรณ อันเป็นความประพฤติที่ดีงาม ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ จึงกำหนดขึ้น เพื่อให้คณะกรรมการบริหารกิจการองค์การ ผู้บริหาร พนักงาน มีความตระหนัก มีความเที่ยงธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ ผดุงเกียรติ ศักดิ์ศรี ควรแก่ความไว้วางใจ ความเชื่อมั่นของประชาชน และ การดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีงาม สมกับความเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ดังกล่าวข้างต้น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ จึงได้จัดทำประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณขึ้น จึงประกาศประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฉบับนี้ เพื่อเป็นมาตรฐานทางจริยธรรม ที่ทุกคนพึงยึดถือปฏิบัติต่อไป ประกาศ ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2551 (นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต) ประธานกรรมการบริหารกิจการ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณ ของ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ .............................. บทนำ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 304 ประกอบมาตรา 279 บัญญัติให้ดำเนินการจัดทำประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภท เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบและเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเสริมสร้างจริยธรรมคุณธรรมและจรรยาบรรณเจ้าหน้าที่ของรัฐ และปลูกจิตสำนึกสังคมไทย ให้เกิดความร่วมมือและขยายผลไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อสร้างวัฒนธรรมการทำงานใหม่ที่เน้นการปฏิบัติงานด้วยความสุจริต โปร่งใส มีจิตสำนึกของความเป็นเจ้าของ รักษาเกียรติของอาชีพ และมุ่งมั่นเสริมสร้างพัฒนาคุณประโยชน์ให้แก่องค์การ และประชาชน และประเทศชาติโดยรวม องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรงคมนาคม มีหน้าที่รับผิดชอบประกอยกิจการเดินรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการให้บริการเดินรถโดยสารประจำทางการดำเนินงานององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพยึดถือประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ และต้องดำเนินงานภายใต้กรอยนโยบายของรัฐบาล ผู้บริหาร และพนักงานขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเป็นกลไกสำคัญที่สุดในการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ทั้งในด้านการบริหารจัดการด้วยระบบบริหารคุณภาพ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการอย่างแท้จริงด้วยภารกิจขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ คือการให้บริการประชาชนจึงตระหนักถึงความสำคัญของงานด้วยนโยบายพัฒนา คุณภาพงานบริการอย่างต่อเนื่อง ให้ได้มาตรฐานสากลประชาชนพึงพอใจ โดยมีพนักงานมีส่วนร่วม ดังนั้นเพื่อให้บรรลุภารกิจและเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพระดับสากล นำไปสู่การพัฒนาของบุคลากรเป็นสิ่งสำคัญ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพจึงจัดทำคู่มือ จริยธรรมและจรรยาบรรณ เพื่อให้คณะกรรมการบริหาร ผู้บริหารและพนักงานยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการทำงาน มีจิตสำนึก มีความรักและซื่อสัตย์ต่อองค์การ สามารถรังสรรค์ผลงานให้เกิดประโยชน์แก่องค์การ ประชาชนและประเทศชาติอันจะนำไปสู่การเป็นองค์การที่มีมาตรฐานระดับสากลเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป 2. คำนิยม 2.1 องค์การ หมายถึง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 2.2 คณะกรรมการบริหาร หมายถึง คณะกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 2.3 ผู้บริหาร หมายถึง พนักงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไป 2.4 พนักงาน หมายถึง พนักงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 2.5 ผู้มีส่วนได้เสีย หมายถึง บุคคลซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งได้แก่ผู้บริหาร พนักงาน ผู้ใช้บริการ ประชาชน และสังคมส่วนรวม เป็นตัน ส่วนที่ 1 3. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับจริยธรรมและจรรยาบรรณ คณะกรรมการบริหารต่อองค์การ (1) กรรมการต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์และข้อบังคับองค์การ (2) กรรมการต้องบริหารงานเพื่อประโยชน์ของรัฐ องค์การ และพนักงาน รวมทั้งรักษาภาพลักษณ์ขององค์การ (3) กรรมการต้องบริหารด้วยความซื่อสัตย์สุจริต วางตัวเป็นกลาง (4) กรรมการต้องไม่มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทำกับองค์การ หรือกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับองค์การที่ตนเป็นกรรมการอยู่ (5) กรรมการต้องหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ผลประโยชน์ส่วนลบุคคลต่อผลประโยชน์องค์การ รวมถึง - ไม่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว - ไม่ใช้ความลับขององค์การในทางที่ผิด - ไม่เป็นกรรมการในบริษัทที่เป็นคู่แข่งขันขององค์การ - ไม่มีผลประโยชน์ในการทำสัญญาขององค์การ (6) กรรมการต้องบริหารงานด้วยความระมัดระวัง ไม่สร้างข้อผูกมัดที่อาจขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่ของตนภายหลัง (7) กรรมการต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบจาการทำงาน (8) การมการต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเต็มความสามารถ (9) กรรมการต้องไม่เป็นผู้ประกอบการ หรือเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการหรือธุรกิจการค้าใดอันมีสภาพอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันหรือทำธุรกิจกับองค์การที่ตนเองเป็นกรรมการอยู่ (10) กรรมการต้องไม่กระทำการใดในลักษณะที่มีผลประโยชน์ขององค์การที่ตนเป็นกรรมการอยู่ คณะกรรมการบริหารต่อพนักงานระดับบริหาร (1) ดำรงตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี ตลอดจนให้การแนะนำด้านการบริหารที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การ (2) ปฏิบัติต่อพนักงานระดับบริหารด้วยกัลยาณมิตร มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล ซึ่งกันและกันสร้างและส่งเสริมความสามัคคีในหมู่คณะ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์การ โดยใช้หลักธรรมาภิบาล คือ การมีส่วนร่วมการปฏิบัติตามกฏหมาย ความโปร่งใส ความรับผิดชอบความสอดคล้อง ความเสมอภาค การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และการมีเหตุผล (3) ประสานงานระหว่างกรรมการ และพนักงานระดับบริหาร เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การมีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ผู้บริหารต่อองค์การ หน้าที่ 14 พนักงานต่อตนเอง (1) เป็นผู้มีศิลธรรมอันดีและประพฤติตนให้เหมาะสมกับการเป็นพนักงานของรัฐ (2) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอุตสาหะขยันหมั่นเพียร และอุทิศตนให้กับการปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถด้วยความรอบคอบฯ (3) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น (4) เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งพัฒนาตนเองโดยแสวงหาความรู้และประสบการณ์ในการทำงานเพิ่มเติม เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (5) ดำรงตนอย่างเรียบง่าย ประหยัด อดออมและยึดหลักการพึ่งตนเองเป็นสำคัญ (6) ยึดมั่นในระบบคุณธรรม ปฏิบัติงานโดยยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง โดยเฉพาะที่ประชาชนจะได้รับ และไม่มุ่งแสวงหาความดีความชอบจากผู้มีอำนาจ (7) ดำรงชีวิตพอประมาณ มีความซื่อตรง ไม่พึงยึดถือเอาทรัพย์สินของผู้อื่นมาเป็นของตน และเบียดเบียนผู้อื่นไม่ว่ากรณีใด ๆ หน้าที่ 16 พนักงานต่อองค์การ (1) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต ปราศจากอคติและไม่ใช้อำนาจหน้าที่ของตนในการแสวงหาผลประโยชน์ตนเองและผู้อื่น (2) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถให้เกิดผลดี โดยคำนึงถึงประโยชน์องค์การและสังคม (3) ประพฤติตนเป็นผู้ตรงต่อเวลา พร้อมที่จะอุทิศตนและเวลาให้กับการปฏิบัติงานขององค์การอย่างเต็มที่ (4) มีความรัก ความภูมิใจในองค์การปกป้องและดูแลรักษาชื่อเสียง และภาพลักษณ์ขององค์การ (5) ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินขององค์การอย่าวประหยัดคุ้มค่าโดยระมัดระวังมิให้เสียหาย หรือสิ้นเปลืองเสมือนปฏิบัติต่อทรัพย์สินของตนเอง หน้าที่ 20 ส่วนที่ 2 5. ระบบการใช้บังคับประมวลจริยธรรม (1) โดยที่ประมวลจริยธรรมนี้มิใช่กฎหมายที่มีโทษทางอาญา การตีความประมวลจริยธรรมนี้ ไม่พึงคำนึงถึงแต่เฉพาะถ้อยคำสำนวนที่เป็นลายลักษณ์อักษร และการประพฤติผิดจริยธรรม มิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะที่บัญญัติไว้ชัดแจ้งในประมวลจริยธรรมนี้เท่านั้น ทั้งไม่พึงตีความอย่างแคบ จนทำให้ผู้กระทำการอันอันวิญญูชนเห็นว่าละเมิดจริยธรรม กลับไม่ต้องรับผิดตามประมวลจริยธรรมนี้ ในกรณีที่มีข้อสงสัยต้องตีความประมวลจริยธรรมนี้ ต้องตีความให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวมเป็นสำคัญ ทั้งต้องมุ่งสร้างสำนึกลึกซึ้งและเที่ยงธรรมในหน้าที่ ผดุงเกียรติศักดิ์ศรีพนักงานองค์การของรัฐที่สร้างความไว้วางใจและเชื่อมั่นของประชาชน และการดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีงามเป็นสำคัญ (2) ในกรณีที่มีการขัดหรือแย้งกันระหว่างประมวลจริยธรรมนี้ กับหลักศาสนา ประเพณี หรือนิยมของสังคม ให้วินิจฉัยกรณีนั้น ๆ ไหตามประมวลจริยธรรมนี้ แต่ การลงโทษจะลงโทษเพียงใดก็ได้ ตามควรแก่กรณี (3) การฝ่าฝืนจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมนี้เป็นความผิดตามกรณี ส่วนจะเป็นความผิดวินัยร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรงให้วินิจฉัยตามลักษณะการฝ่าฝืน ความจงใจหรือเจตนา การหลีกเลี่ยงจริยธรรมหรือความสำคัญผิดมูลเหตุจูงใจ ความสำคัญและระดับตำแหน่งและหน้าที่ของผู้ฝ่าฝืน อายุ ประวัติและความประพฤติในอดีต สภาพแวดล้อมแห่งกรณี ผลร้ายอันเกิดจากการฝ่าฝืน หรือเหตุอื่นอันควรจะนำมาประกอบการพิจารณา (4) ให้นำความในข้อ (3) ของส่วนที่ 2 มาใช้กับการวินิจฉัยการฝ่าฝืนตามข้อนี้โดยอนุโลม ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการดังต่อไปนี้กับพนักงานผู้ไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม (6) กรณีมีการร้องเรียนหรือปรากฏเหตุว่ามีผู้ประพฤติปฏิบัติฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้รับผิดชอบพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควร หน้าที่ 23 แนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดปัญหา ในทางปฏิบัติหากเกิดปัญหาความไม่ชัดเจนหรือปัญหาอื่นนอกเหนือจามกที่กำหนดไว้ ให้พนักงานนำเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ร่วมกันพิจารณาหาทางแก้ไขหรือแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับกรณีนั้น ๆ กรณีพนักงานขององค์การ กระทำผิดศิลธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ มีความผิดอะไรหรือเปล่าครับ